วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำจืด

การเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำจืด



          หมายถึง    สิ่งสำคัญที่ทำให้คุณภาพน้ำเสื่อมลง คือการเกิดมลพิษทางน้ำที่มนุษย์เป็นต้นเหตุ มลพิษทางน้ำคือภาวะที่น้ำปนเปื้อนสารแปลกปลอมต่าง ๆ จนทำให้คุณภาพน้ำเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือเสื่อมคุณภาพจนเป็นอุปสรรคหรือเกิดอันตรายจากการใช้น้ำนั้น และก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยสารแปลกปลอมเหล่านั้นปนเปื้อนเข้าสู่น้ำได้เมื่อน้ำถูกใช้ในกิจกรรมต่าง ๆที่มีสิ่งปนเปื้อนเหล่านั้นและถูกน้ำถูกระบายทิ้งเมื่อคุณภาพน้ำเสื่อมลง
สภาพปัญหา
                         ด้านกายภาพ เป็นลักษณะของมลพิษที่สามารถบ่งชี้ได้ด้วยวิธีทางกายภาพ เช่น ความขุ่น ของแข็งในน้ำ อุณหภูมิ ไขมัน สี และกลิ่น เป็นต้น 
                        ด้านเคมี เป็นมลพิษที่ต้องใช้วิธีการทางด้านเคมีในการบ่งชี้ ซึ่งสารมลพิษประเภทนี้มีมากมายหลายชนิด เราอาจแบ่งประเภทของสารมลพิษชนิดนี้ได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ 
                        1) สารอินทรีย์ เป็นสารมลพิษที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนเป็นหลัก และอาจจะมีธาตุอื่น ๆ เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส ซัลเฟอร์ หรือธาตุอื่น ๆ เป็นส่วนประกอบด้วย สารมลพิษประเภทนี้อาจจะมีลักษณะคล้ายโปรตีน หรือคาร์โบไฮเดรต การบ่งชี้สารมลพิษประเภทนี้มักจะบ่งชี้ในรูปแบบของค่า บีโอดี ซีโอดี 
                        2) สารอนินทรีย์ เป็นสารมลพิษที่ประกอบด้วยธาตุต่าง ๆ เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โลหะ โลหะหนัก ฯลฯ สารอนินทรีย์บางชนิดมีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต แม้ว่าจะพบในปริมาณต่ำ เช่น ไซยาไนด์ การบ่งชี้ลักษณะของสารมลพิษกลุ่มนี้มักจะบ่งชี้ปริมาณของสารหรือธาตุนั้น ๆ ในน้ำ 
        ด้านชีวภาพ เป็นการบ่งชี้ปริมาณของจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำ ซึ่งจะมุ่งไปที่จุลินทรีย์ที่เป็นก่อโรคได้ หรือจุลินทรีย์ที่ตรวจพบได้ง่ายและสามารถใช้บ่งชี้จุลินทรีย์ที่ก่อโรคในน้ำ หรือบ่งชี้การปนเปื้อนของน้ำได้ เช่น ฟีคัลโคลิฟอร์ม หรือ แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์ม  

สาเหตุ
                ปัจจุบันคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศทั้งแหล่งน้ำผิวดิน แหล่งน้ำใต้ดิน และแหล่งน้ำทะเล โดยเฉพาะในบริเวณที่มีความหนาแน่นของชุมชนและกิจกรรมการพัฒนาต่างๆ กำลังประสบปัญหาความเสื่อมโทรม อันเนื่องมาจากการปนเปื้อนของสารพิษต่าง ๆ ที่มาจากกิจกรรมของมนุษย์ ทั้งกิจกรรมจากชุมชนตามความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และการท่องเที่ยว โดยมีผลทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติของทรัพยากรน้ำทั้งทางกายภาพ และชีวภาพ รวมทั้งความสมดุลของระบบนิเวศในแหล่งน้ำนั้น ๆ จนเกิดผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ ความเสื่อมโทรมหรือความเน่าเสียของทรัพยากรน้ำนั้น จะปรากฏทั้งในรูปของการสูญเสียออกซิเจนละลายน้ำ (DO) การมีสารอินทรีย์ตัวทำลายออกซิเจน (BOD) และแบคทีเรียชนิดโคลิฟอร์ม (TBC)
                                                     การที่แหล่งน้ำดังกล่าวมีภาพที่เสื่อมโทรม และมีแนวโน้มทวีความรุนแรง รวมทั้งขยายพื้นที่ขึ้นเรื่อยๆ นั้น เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายและการกระจายตัวของอุตสาหกรรมออกสู่ภูมิภาค โดยขาดการจัดการและควบคุมมลพิษทางน้ำที่ได้มาตราฐาน การเลี้ยงสัตว์และบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำซึ่งเป็นแหล่งน้ำเสียที่มีความเข้มข้นสูงขาดระบบการจัดการน้ำเสียที่เหมาะสม รวมทั้งปริมาณน้ำจากธรรมชาติลดลง อันเป็นผลสืบเนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่าด้วย และประการสำคัญ คือ การบริหารและการจัดการในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการขาดเอกภาพในการดำเนินงานและการประสานงานที่ดี ขาดกฎหมายและมาตราการที่ชัดเจน ในการติดตามตรวจสอบและควบคุมมลพิษทางน้ำจากแหล่งกำเนิดอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะกิจกรรมทางการเกษตรขาดการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด สมรรถภาพขององค์การที่รับผิดชอบในทุกระดับยังมีข้อจำกัดทั้งในด้านงบประมาณและบุคลากร และขาดมาตรการด้านเศรษฐกิจสังคมที่จะจูงใจให้ผู้ประกอบการและเจ้าของแหล่งกำเนิดมลพิษดำเนินการลดและขจัดปริมาณมลพิษ หรือควบคุมการจัดการของเสียจากขบวนการผลิตอย่างจริงจัง

ผลกระทบ
                           ผลกระทบของน้ำเสียมีดังต่อไปนี้ คือน้ำจะมีสีและกลิ่นที่น่ารังเกียจ น้ำเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เป็นแหล่งของเชื้อโรคต่างๆ สู่มนุษย์ สัตว์ และพืช อีกทั้งยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งมลพิษทางน้ำจะส่งผลให้มีการทำลายทัศนียภาพในเรื่องสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวด้วย มนุษย์จะได้รับผลกระทบที่เป็นอันตรายทั้งทางตรงและทางอ้อมที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบัน และในอนาคต

แนวทางป้องกันและแก้ไข

1.เร่งรัดฟื้นฟูคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำสำคัญทั่วประเทศ

2.ลดและควบคุมมลพิษทางน้ำ อันเนื่องมาจากกิจกรรมของชุมชน เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม

3.ผู้ก่อมลพิษทางน้ำต้องมีส่วนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดมลพิษทางน้ำ

4.ส่งเสริมให้การสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมลงทุน และดำเนินการจัดการเพื่อการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย 

การอนุรักษ์

1.ให้มีระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียรวมสำหรับชุมชนในระดับเทศบาล และสุขาภิบาลทั่วประเทศ โดยสนับสนุนให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วม
2.ส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนของส่วนราชการท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจและเอกชน ในการก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียรวม โดยการจัดสรรงบประมาณ สมทบกองทุนสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้นตามความต้องการ
3.เร่งรัดให้มีการนำมมาตรการการจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสียไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยมอบหมายให้ส่วนราชการท้องถิ่น หรือองค์กรที่มีหน้าที่โดยตรงเป็นผู้ดำเนินการ 



ด้านกฎหมาย 
                  กำหนดและปรับปรุงมาตรการคูณภาพน้ำในแหล่งสำคัญ และมาตรฐานน้ำทิ้งจากกแหล่งกำเนิดต่างๆ ให้เหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ 
กำหนดและปรับปรุงประเภทและขนาดของแหล่งกำเนิดน้ำเสียหรือกิจกรรมที่ต้องควบคุมการปล่อยน้ำเสีย รวมทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขต่างๆ เพื่อควบคุมและติดตามตรวจสอบ การระบายน้ำเสียอย่างต่อเนื่อง
เสริมสร้างสมรรถภาพทางวิชาการอุปกรณ์ เครื่องมือ และกฎหมาย เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ในระดับท้องถิ่น
ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ ตลอกจนเร่งรัดออกกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ เพื่อให้การลดและควบคุมมลพิษทางน้ำเป็นไปตามเป้าหมาย


ด้านการสนับสนุน 
          สนับสนุนและร่วมมือกับภาคเอกชนและองค์กรต่างๆ ในการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและผู้ประกอบกิจการ มีความรู้ มีความเข้าใจ และมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการจัดการคุณภาพน้ำ และการควบคุมน้ำเสียจากแหล่งกำเนิด
สนับสนุนให้มีการศึกษา วิจัย เพื่อพัฒนาและส่งเสริมเทคโนโลยีการจัดการคุณภาพน้ำ และการควบคุมน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งสนับสนุนให้ดำเนินผลการวิจัยไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม
ให้มีการลดภาษีอากรสำหรับการนำเข้าเครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุ เพื่อการบำบัดน้ำเสียให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดแรงจูงใจและความรวบมือในการจัดการน้ำเสีย


พื้นที่ที่ได้ไปสำรวจการเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำจืด

น้ำคลอง



แหล่งน้ำจืดข้างโรงงาน































    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น